เหตุผลที่ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ยังไม่กล้าให้บาร์ฟ

🎉ตอนที่ 2.2 #เหตุผลที่ผู้เลี้ยงส่วนใหญ่ยังไม่กล้าให้บาร์ฟ
.
เคยสงสัยมั๊ย ทำไมการให้บาร์ฟแก่สุนัข 
ในบ้านเรา ดูไม่แพร่หลายเท่าที่ควร 
อีกทั้งสัตวแพทย์ส่วนใหญ่ ยังไม่สนับสนุน
ให้ทานอาหารประเภทนี้ แม้บาร์ฟจะดีต่อ
สุขภาพของพวกเขามากแค่ไหน เปรียบได้
เป็นอาหารที่เลียนแบบพฤติกรรมการกิน
ตามธรรมชาติแบบดั้งเดิม ไหนจะผลลัพท์
ที่ได้จากการกินบาร์ฟนั้น “ชัดเจนกว่า” 
เมื่อเทียบกับการให้อาหารประเภทอื่น 
.
🤓จากที่หมอเป็ดเคยถาม รุ่นพี่ รุ่นน้อง 
และเพื่อนที่เป็นสัตวแพทย์ด้วยกัน
มีอยู่ 2 เหตุผลสำคัญที่ทำให้สัตวแพทย์
มากกว่า 90% ไม่มั่นใจอาหารประเภทนี้ 
รวมถึงผู้เลี้ยงมือใหม่หลายท่าน เป็นเพราะว่า
.
╔══════════════╗
🔥กังวลอันตรายจากเชื้อโรค 
และพยาธิ อีกทั้งเป็นอาหารที่
ผลการวิจัยรองรับยังไม่มากพอ🔥
╚══════════════╝
.
คราวนี้ ลองดูเหตุผลไปพร้อมๆกันนะ
ในตอนที่คุณหมอรู้ว่าเราเลี้ยงสุนัขและแมวด้วยบาร์ฟ 
สิ่งแรกที่ท่านพยายามบอกกับพวกเรา คือ 
.
#ต้องระวังเรื่องเชื้อโรคและพยาธินะ 

>>เรื่องนี้คุณหมอพูดถูกแล้
และเราต้องระวังจริงๆ<<
.
เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ทำบาร์ฟ มากกว่า 70%
จะเป็นพวก เนื้อสัตว์ เครื่องใน และกระดูกดิบ 
ซึ่งเสี่ยงมีแบคทีเรียอันตราย เช่น ซัลโมเนลล่า 
ปนเปื้อนมาด้วย สาเหตุที่พบเชื้อได้ง่าย
เพราะภูมิอากาศบ้านเรา มีลักษณะ “ร้อนชื้น”
ยิ่งช่วงไหนร้อนมากๆ ส่งผลให้อาหารบูดเร็ว
.
⚠️นี่ยังไม่นับ โรงฆ่าสัตว์บางแห่งที่ไม่ได
มาตรฐานสากล + มีการจัดเก็บที่ไม่ดี
ซึ่งเสี่ยงเรื่องพยาธิแอบแฝง
รวมถึงการเลือกซื้อวัตถุดิบจากตลาดสด 
แม้จะราคาถูกกว่าตามห้างก็จริง แต่เรา
ไม่สามารถรู้วันหมดอายุได้ นอกจาก 
สังเกตสี กลิ่น และความสด ด้วยตัวเราเอง
.
โดยธรรมชาติแล้ว เชื้อแบคทีเรียจะมีปะปน
มากับเนื้อสัตว์ดิบ แต่มีปริมาณไม่มากครับ
เมื่อนำมาปรุงผ่านความร้อน เชื้อโรคเหล่านี้
ก็จะสลายไปเกือบหมด ในทางกลับกัน
หากเก็บไม่ถูกวิธีก็จะเพิ่มปริมาณ ซึ่งอาจก่อ
ให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์รวมถึงสัตว์เลี้ยง
.
หากผู้เลี้ยงท่านใดยังกังวล หรือไม่อยากเสี่ยง 
ก็ตัดปัญหาเหล่านี้ โดยนำวัตถุดิบไปผ่าน
ความร้อนเกิน 70 องศาขึ้นไป (ทำให้สุก)
แต่อย่าลืมว่า ความร้อนจะทำลายสารอาหาร
และเอนไซม์ที่มีประโยชน์ไปเกือบหมดด้วย
.
จากประสบการณ์ของหมอโดยตรง 
พบว่า การที่ผู้เลี้ยงไม่กล้าตัดสินใจให้บาร์ฟ 
คือ “กลัวน้องหมาจะได้รับอันตรา
จากเชื้อโรคในเนื้อดิบและพยาธิมากเกินไปนี่ล่ะ” 
.
สาเหตุที่เชื่อแบบนี้ คือเผลอใช้ร่างกายตัวเอง
ไปเปรียบเทียบ ทั้งที่ความจริง 
ระบบย่อยอาหารของสุนัขและแมวตั้งแต่ช่องปาก
ยาวไปจนถึงกระเพาะอาหาร สามารถจัดการ
เชื้อโรคอันตรายพวกนี้ได้อย่างไม่มีปัญหา

สิ่งสำคัญอยู่ที่ #การใส่ใจ เลือกสถานที่
ซื้อวัตถุดิบ ว่ามีความสะอาด 
และถูกหลักอนามัยแค่ไหนต่างหาก
.
💕สำหรับท่านที่ทำบาร์ฟเอง หมอแนะนำให้ซื้อวัตถุดิบ
ที่เป็นกลุ่มอาหารสดในห้างสรรพสินค้าชั้นนำ
เพื่อความปลอดภัยของหมาแมวสายบาร์ฟ
ในระยะยาวจะดีกว่าครับ
(อาจแพงหน่อย แต่ได้ความสบายใจครับ)
.
ส่วนเหตุผลถัดมา ที่ทำให้คุณหมอ
ไม่แนะนำบาร์ฟ เพราะการให้อาหารสำเร็จรูป
ดูจะ “ปลอดภัย” มากกว่าให้อาหารสดดิบ 
ลองนึกตามหมอดีๆนะ กว่าอาหารสำเร็จรูป
หนึ่งถุงจะวางจำหน่ายได้ แต่ละสูตรนั้น
ผ่านการคิดค้นมากมาย ต้องมีผลการวิจัย
รับรอง และวัดผลทางวิทยาศาสตร์ได้

ดังนั้น อย่าแปลกใจถ้าผลการวิจัยของอาหาร
สัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่ จะเอนเอียงไปทางบอกถึง
ประโยชน์ของอาหารสำเร็จรูปมากกว่า 
.
เพราะอย่าลืมว่าบริษัทเหล่านี้ มีแผนกวิจัย
ของตัวเองอยู่แล้ว มีทั้งนักวิทยาศาสตร์ 
นักโภชนาการ นักการตลาด เงินทุน เพื่อคิดหา
ข้อมูลมาสนับสนุนสินค้าตัวเองอย่างเต็มที่
ถ้ามองอย่างเป็นกลาง ทุกการวิจัยส่วนใหญ่
ถูกทำออกมา เพื่อสนับสนุนสินค้า
ของตัวเองอยู่แล้ว ใช่หรือไม่ครับ………………
.
===============================
.
<มุมมองหมอเป็ด>
.
.
เนื่องจาก อาหารสำเร็จรูปที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้
มีมาแล้วเกือบ 150 ปี โดยเกิดขึ้นเมื่อรูปแบบ 
การดำเนินชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไป 
จากยุคเกษตรกรรมไปสู่ยุคปฎิวัติอุตสาหกรรม 
เป็นเหตุให้ผู้เลี้ยงมีเวลาดูแลสัตว์ได้น้อยลง 
.
อาหารประเภทนี้จึงเกิดขึ้นมา เพื่อ 
#ความสะดวกสบายเป็นอันดับแร 
โดยไม่ได้คำนึงถึงสุขภาพอย่างที่ควรจะเป็น
(เฉพาะช่วงแรกนะ แต่ตอนนี้พัฒนาไปมากล่ะ)
.
ที่ผลวิจัยของบาร์ฟน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
บาร์ฟเป็นอาหารทางเลือกใหม่ 
ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ถึง 30 ปี และเริ่มแพร่หลาย
ในช่วงระยะเวลา 10 ปีนี้เอง แถมผู้เลี้ยง
ส่วนใหญ่ มักลงมือทำบาร์ฟด้วยตัวเอง 
เนื่องจาก ทำได้ง่าย ไม่ซับซ้อน
ถ้ารู้ส่วนผสมและสัดส่วนที่ถูกต้อง
.
อีกทั้ง บริษัทผลิตอาหารสัตว์ประเภทบาร์ฟ
ยังมีน้อยมาก เมื่อเทียบกับจำนวนบริษัท
อาหารสำเร็จรูป เพราะธุรกิจอาหารบาร์ฟ
มีความเสี่ยงมาก ยกตัวอย่าง เช่น
.
👉ใช้วัตถุดิบเกรดคนทาน
👉ราคาวัตถุดิบที่ผันผวน 
👉เก็บได้ไม่นานเท่าอาหารเม็ด 
👉ต้องใส่ใจกระบวนการผลิตมากกว่า
👉ต้นทุนการจัดเก็บสูงเพราะต้องแช่แข็ง 
👉กำไรน้อย! เพราะไม่สามารถใส่ข้าว หรือธัญพืช
(เป็นอาหารกลุ่มคาร์บที่หมาแมวไม่จำเป็นต้องกิน)
.
ดังนั้นข้อมูลบาร์ฟที่เราเห็นนั้นจึงเป็นรูปแบบ 
#การแชร์ประสบการณ์ ของผู้เลี้ยงซะมากกว่า 
ซึ่งหมอว่าประสบการณ์ตรงของผู้เลี้ยง
ที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสวงผลกำไร 
เป็น #สิ่งที่น่าเชื่อถือที่สุดเลยล่ะ 
เพราะนักวิจัยคงไม่ได้มาคลุกคลี และอยู่กับ
สัตว์เลี้ยงตลอดเวลาเหมือนกับเราหรอกเนอะ
.
ปล.บทความนี้หมอเขียนเพื่อให้เห็นมุมมอง
ของสัตวแพทย์ที่คิดเห็นอย่างไรต่อบาร์ฟ
ไม่ได้มีเจตนาโจมตีใดๆ แต่เพื่อให้เข้าใจ
ถึงเจตนารมย์ของคุณหมอทุกคน
ที่เป็นห่วงสุขภาพสัตว์เลี้ยงของเราจริงๆ 🙏🙏🙏
.
สุดท้าย ถ้าคุณมั่นใจว่าบาร์ฟที่ให้นั้นสะอาด
ปลอดภัย มีสัดส่วนถูกต้อง ก็ลองให้ได้เลย
(ให้บาร์ฟของหมอเป็ดเป็นอีกหนึ่งทางเลือกก็ได้ครับ)
ไม่แน่สุขภาพของพวกเขาอาจดีขึ้น 
เพียงเปลี่ยนมาให้บาร์ฟ 1-3 เดือน
แต่ถ้าตัวคุณเองไม่มีเวลาทำ

การให้อาหารสำเร็จรูป เกรด ซุปเปอร์พรีเมี่ยม
หรือ โฮลิสติค น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะ
กับหมาแมวของคุณมากกว่าครับ
.
❤️With Love Your Pets #หมอเป็ด🐤

ข้อมูลดีๆเกี่ยวกับบาร์ฟ
สนใจบาร์ฟพรีเมี่ยมและเรียนทำอาหาร
หมอเป็ด สัตวแพทย์ที่เชี่ยวชาญด้านบาร์ฟ