
10 ความเชื่อผิดๆ สำหรับเจ้าของสัตว์เลี้ยง ที่กังวลเรื่องการให้บาร์ฟ
เขียนโดย: หมอเป็ด – สัตวแพทย์เจ้าของแบรนด์อาหารสุขภาพ BARFnista
💥 ความเชื่อผิด #1: “อาหารดิบหรือบาร์ฟ มักให้สารอาหารไม่ครบถ้วน”
❌ ไม่จริง!
อาหารสดดิบแบบ BARF (Biologically Appropriate Raw Food) สามารถให้สารอาหารครบถ้วนได้ หากมีการวางแผนอย่างเหมาะสม โดยต้อง:
หมุนเวียนวัตถุดิบ หรือสูตรบาร์ฟที่กิน เป็นประจำ
ครอบคลุมกลุ่มเนื้อสัตว์, กระดูกดิบ, เครื่องใน, ผัก และผลไม้
ไม่จำเป็นต้องใส่ครบทุกมื้อ แต่ให้ครบภายใน 1 สัปดาห์
การให้อาหารดิบเพียงประเภทเดียว เช่น โครงไก่บด หรือเนื้อไก่ดิบเพียงอย่างเดียว นั้นไม่ใช่ BARF ที่แท้จริง แต่เป็นการให้อาหารแบบไม่สมดุล ซึ่งเสี่ยงทำให้สัตว์เลี้ยงขาดสารอาหาร
💥 ความเชื่อผิด #2: “บาร์ฟทำให้เกิดแบคทีเรียดื้อยา”
❌ ไม่ถูกต้อง
เนื้อ ผัก ผลไม้ ที่ใช้ทำ BARF คือวัตถุดิบเดียวกับอาหารมนุษย์ เมื่อสะอาดและถูกสุขลักษณะ ย่อมไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดื้อยาปฏิชีวนะโดยตรง
🧬 ปัจจัยที่ทำให้ดื้อยามากกว่า ได้แก่:
การใช้ยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อ
การใช้ยาคนกับสัตว์โดยไม่ปรึกษาสัตวแพทย์
การใช้ยาขนาดไม่เหมาะสม
องค์การอนามัยโลก (WHO) ไม่เคยระบุว่า “อาหารดิบ” เป็นสาเหตุของการดื้อยาในสัตว์
💥 ความเชื่อผิด #3: “กินบาร์ฟแล้วน้องหมาดุขึ้น”
❌ ผิดแน่นอน
พฤติกรรมดุร้ายเกิดจาก:
พันธุกรรม
สภาพแวดล้อม
พฤติกรรมการเลี้ยง
ความเจ็บป่วยหรือฮอร์โมน
อาหารมีผลแค่เล็กน้อย (ประมาณ 2–3%) ยิ่งถ้าให้ BARF ที่มีโปรตีนคุณภาพดี สมดุลไขมัน ยิ่งช่วยควบคุมพฤติกรรมได้ดีกว่าอาหารคาร์โบไฮเดรตสูง
🦴 หากให้กระดูกดิบ ควรให้ในพื้นที่ส่วนตัว ไม่แย่งในขณะเคี้ยว เพื่อป้องกันพฤติกรรมหวงอาหาร
💥 ความเชื่อผิด #4: “กินบาร์ฟต้องถ่ายพยาธิบ่อยขึ้น”
❌ ไม่จริง
ระบบย่อยของสุนัขและแมวมีความเป็นกรดสูงและลำไส้สั้น จึงสามารถกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ส่วนใหญ่ได้ดี โดยเฉพาะเมื่อวัตถุดิบสะอาดและแช่แข็งฆ่าพยาธิ (freezing protocol)
✅ การถ่ายพยาธิควรทำเป็นประจำอยู่แล้ว ไม่ว่าจะกินอาหารรูปแบบไหน โดยเฉพาะสัตว์ที่ออกนอกบ้าน
💥 ความเชื่อผิด #5: “สุนัขและแมวทุกสายพันธุ์กิน BARF ได้หรือไม่?”
✅ ถูกต้อง
ไม่ว่าสายพันธุ์ไหน ทั้งพันธุ์เล็ก กลาง ใหญ่ ทุกตัวมีบรรพบุรุษเดียวกันคือ “หมาป่า” (Canis lupus) และ “เสือ” ในกรณีของแมว
จึงมีระบบย่อยที่ออกแบบมาเพื่อเนื้อสัตว์ โดยเฉพาะแมวที่เป็น “สัตว์กินเนื้อแท้” (Obligate Carnivore)
💥 ความเชื่อผิด #6: “อาหารปรุงสุกต้องใส่เครื่องปรุง ไม่อย่างนั้นไม่อร่อย”
❌ ไม่จำเป็น
🐶 สุนัขใช้ “กลิ่น” มากกว่าลิ้นในการรับรู้รสชาติ กลิ่นของเนื้อสัตว์สด อาหารอุ่นๆ หรือไขมันจากธรรมชาติมีผลกระตุ้นความอยากอาหารมากกว่าการใส่เครื่องปรุง
คำเตือน: ห้ามใส่เครื่องปรุงของมนุษย์ เช่น เกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา น้ำตาล เพราะอาจทำให้เกิดโรคไตและตับได้ในระยะยาว
💥 ความเชื่อผิด #7: “บาร์ฟไม่เหมาะกับหมาแมวสูงวัย”
❌ ไม่เสมอไป
แม้ในวัยสูงอายุ (7 ปีขึ้นไป) ระบบย่อยอาจเสื่อมลง แต่หากสุขภาพโดยรวมยังดี สามารถให้ BARF ได้อย่างเหมาะสม โดย:
ลดไขมันและกระดูก
เพิ่มเส้นใยจากผัก
เสริมวิตามินที่จำเป็น เช่น B-complex, omega-3
หากมีโรคประจำตัว ควรปรึกษาสัตวแพทย์เฉพาะทางด้านโภชนาการ เพื่อจัดสูตรให้เหมาะกับร่างกายที่เสื่อมถอย
💥 ความเชื่อผิด #8: “กินอาหารสูตรเดิมซ้ำๆ ดีกว่าเปลี่ยนเมนูบ่อยๆ”
❌ ไม่จริง
การกินอาหารเดิมๆ เสี่ยง:
เบื่ออาหาร
ภูมิแพ้โปรตีนเดิม (เช่น ไก่, ข้าวโพด, แป้ง)
ขาดสารอาหารบางชนิด
การหมุนเวียนโปรตีนทุก 2–4 สัปดาห์ ช่วยลดโอกาสแพ้ และส่งเสริมให้ร่างกายรับสารอาหารหลากหลาย เหมือนที่มนุษย์ต้องกินอาหารหลากหมู่
💥 ความเชื่อผิด #9: “กระดูกดิบอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง”
❌ เฉพาะกระดูกสุกเท่านั้นที่อันตราย!
กระดูกที่ผ่านความร้อนจะเปราะ แตกง่าย และเสี่ยงทิ่มกระเพาะหรือลำไส้ → อันตรายมาก!
แต่ กระดูกดิบที่บดละเอียดหรือขนาดพอดีเคี้ยว ปลอดภัย และเป็นแหล่งแคลเซียมธรรมชาติที่ยอดเยี่ยม
📌 แนะนำให้บดก่อน หรือให้กระดูกจากสัตว์ใหญ่อย่างพอเหมาะ
💥 ความเชื่อผิด #10: “สุนัขสามารถแทะกระดูกดิบได้ทุกชนิด”
❌ ต้องเลือกให้เหมาะ!
✅ แนะนำ: Knuckle bone, Marrow bone จากวัว/ควาย (ใหญ่ แข็งพอดี เคี้ยวมัน ปลอดภัย)
❌ ไม่แนะนำ: กระดูกหมู (เปราะ แตกง่าย), กระดูกเล็ก, หรือกระดูกสัตว์ปีกที่ไม่บด
📆 ควรให้หลังอายุ 7 เดือน (หลังฟันแท้ขึ้นครบ) และหลีกเลี่ยงในสุนัขอายุมากหรือฟันไม่แข็งแรง
📌 อาหารบาร์ฟไม่ใช่อาหารทางเลือกสุดโต่ง แต่คือ แนวทางโภชนบำบัดที่คืนความเป็นธรรมชาติให้ร่างกายสัตว์เลี้ยง หากวางสูตรอย่างถูกต้อง มาตรฐานการผลิตที่สะอาด และหมุนเวียนวัตถุดิบอย่างเหมาะสม จะเป็นอาหารที่ส่งเสริมสุขภาพทั้งระยะสั้นและยาว
.
หวังว่า เกร็ดความรู้ทั้ง 10 ข้อ นี้จะช่วยคลายความกังวลกับการให้อาหารบาร์ฟไม่มากก็น้อยครับ……….หมอเป็ด


